วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ไขปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด 
1. ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น 
         จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue 
        สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป 
         บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม 
          หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ 
2. ปัญหาที่เกิดจากซีพียู 
           ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว
         
 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว 
3. RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง 
           อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับVGA ครับและขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ค่ะ
4. "Insert System Disk and Press Enter" 
          อยู่ ๆ เราไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and Press Enter" ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย 
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี
 OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดร์ฟ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดร์ฟ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว
5. ไดรว์ซีดีรอม อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ แก้ปัญหาอย่างไร 
            ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดร์ฟซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดร์ฟซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดร์ฟ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
6. ปัญหาของซีดีออดิโอ 
            ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio compact disk" หรือ Data or no disk loadedอาจมีสาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่ Media Control Devices และ CD Audio Devices (Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิก OK เพื่อปิด หน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่
7. อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแผ่นแตก 
            กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วค่ะ เรื่องไดร์ฟ CD-ROM ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดร์ฟ ที่ผลิตในปัจจุบันมีความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอยขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่งปัญหานี้เราจะไม่พบในไดร์ฟรุ่นเก่า ๆ เลย ทางแก้ก็คือหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ
8. แบตเตอรี่เสื่อมทำอะไรกับเครื่องคุณได้บ้าง 
            บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาปรากฎว่าเจอกับข้อความ "CMOS CHECKSUM ERROR" หรือไม่เมื่อเราใช้เครื่องคอมฯ ไปเรื่อย ๆ จะสังเกตเห็นว่านาฬิกาของเครื่องดูเหมือนจะเดินช้าลงนั่น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ที่อยู่ในเมนบอร์ดของเรากำลังจะหมด และถ้ายังคงใช้งานต่อไปโดยไม่หา แบตเตอรี่มาเปลี่ยนก็จะทำให้ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ใน BIOS SETUP หายไปได้ อย่างเช่นค่าของ ฮาร์ดดิสก์ว่า เป็นชนิดอะไร ทำให้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เราจะต้องตั้งค่าเหล่านี้ใหม่ทุกครั้ง
9. "Bad or Missing Interpreter" มันคืออะไร 
            ปัญหาลักษณะนี้จะเกิดจากไฟล์ Command.com นั้นเกิดความเสียหาย หรือถูกลบทิ้งไป ซึ่งทางแก้ไขก็คือให้คุณทำการ ก๊อปปี้ไฟล์ Command.com จากเครื่องอื่น ซึ่งต้องเป็นวินโดวส์รุ่นเดียวกัน หรือจากแผ่น Start Up ดิสก์ที่สร้างจากเครื่อง คุณก็ได้ โดยเมื่อก๊อปปี้ไฟล์ได้แล้วก็ให้ใส่แผ่นในไดร์ฟ A แล้วเข้าไปที่ A : Promt จากนั้นก็พิมพ์คำสั่ง copy a:\command.com c: เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานคอมได้เป็นปกติ
10. "8042 GATE-A20 Error" มันคืออะไร 
            หากว่าพบข้อความ 8042 GATE-A20 Error ปรากฎขึ้นมา นั่นแสดงว่าชิปที่ควบคุมการทำงานของแป้นพิมพ์บนเมนบอร์ด มีปัญหาหรืออาจเกิดจากปลั๊กเสียบไม่แน่น ให้คุณทำการปิดเครื่องแล้วลองขยับปลั๊กให้แน่นขึ้นดู หากยังไม่หายนั้นแสดง ว่าเมนบอร์ดของคุณมีปัญหาแล้ว ควรที่จะยกไปให้ซ่อมหรือไปเปลี่ยนกับทางร้านที่คุณซื้อมา (ถ้ายังมีประกัน)
11.ทำไมเสียงไม่สามารถแสดงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงได้ 
            โดยทั่วไปแล้วการ์ดเสียงส่วนใหญ่จะสามารถทำได้อยู่ ปัญหาน่าจะเกิดมาจากการ์ดเสียงหรือว่าโปรแกรม DirectX ซึ่งการแก้ไขก็ให้คุณลองนำการ์ด เสียงตัวที่คุณใช้แล้วมีปัญหา ไปลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ดู หรือลองอัพเดต โปรแกรม DirectX ให้สูงกว่าเวอร์ชั่น 6 ถ้าหากไม่หายแสดงว่าการ์ดเสียงของคุณมีปัญหา แล้วละค่ะ 
12. Disk Boot Failure 
            สาเหตุอาจเกิดจาก เกิดจากคุณอาจลืมแผ่นดิสที่บูทไม่ได้ไว้ในไดร์ฟ A: หรือ แผ่น CD ไว้ในไดร์ฟ CD (กรณีตั้งซีมอสให้บูทที่ซีดีได้) หรือเกิดจากฮาร์ดดิสที่เป็นตัวบูท C: ไม่สามารถใช้งาน ได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าในซีมอสทำให้ไม่ตรงรุ่นของฮาร์ดิส 
           
 การแก้ปัญหา
            
 1.   ตัว Harddisk มีจานแม่เหล็กที่มีผิวเสียหายมากไม่สามรถใช้งานได้อีกต่อไป 
            2.   ขณะที่ทำการ Scandisk ใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือพบพื้นที่เสียหายมากและต่อเนื่องให้ยกเลิกไปทำการ Format แทน (แต่โอกาสที่จะใช้ได้มีน้อยมากเนื่องจากผิวจานแม่เหล็กเสียหายมาก) 
             3.   ตัวควบคุม Harddisk หรือสายแพรที่ใช้ต่อ Harddisk กับ Controler บน MainBoard เสียหรือเสื่อมสภาพ (จะมีโอกาสเกิดน้อยกว่าความเสียหายบนตัว Harddiskเอง) หลังจากทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วยังเกิดอาการดังกล่าวอีกให้ทำการ Format Harddisk ตัวนี้ โดยทำดังนี้ 
              1.   Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk 
            2.   เรียกคำสั่ง Format แบบเต็ม (Full Format) ดังนี้ โดยพิมพ์คำสั่งที่เอพร้อม a:/format c:/s และกด Enter และ ตอบ y และ Enter 
              3.   ในขณะที่ทำการ Format โปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของจานแม่เหล็กถ้าพบจุดเสียที่ใดก็จะทำการบันทึก ไว้ในตาราง FAT ของตัว Harddisk เพื่อไม่ให้โปรแกรม อื่นๆ นำพื้นที่นี้ไปใช้ได้อีก (จุดที่เสียจะเรียกว่า BAD Sector) 
              4.   จากนั้นก็สามารถนำไปลง OS Program ต่อไปได้ 
              5.   หากยังเกิดอาการดังกล่าวอีกแนะนำให้เปลี่ยนตัว Harddisk ค่ะ คงจะไม่ไหวแล้วจริงๆ 
13. Harddisk ไม่ทำงาน (ไม่มีเสียง Motor หมุน) 
            สาเหตุอาจเกิดจาก 
            1.   เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว Mortor 
            2.   ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk เสียหาย
            3.   สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน Mainboard หลวมหรือหลุดหรือเกิดสนิม 
            การแก้ปัญหา 
           1.   ตรวจสอบสายต่อไฟเลี้ยงดูว่าแน่นหรือเกิดสนิมหรือเปล่า โดยการถอดออกมาแล้ว
ตรวจดูว่าเป็นปกติหรือไม่ แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ 
            2.   เปลี่ยนสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับตัว Harddisk เส้นใหม่ดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า 
            3.   ทดลองเปลี่ยนสายแพร หรือถอดออกดูก่อนแล้วเปิดเครื่องเพื่อดูว่าทำงานได้หรือเปล่า
           4.   อาจลองนำเอาสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับ CD-ROM Drive มาต่อดูก็จะรู้ได้ว่าสายจ่ายไฟเลี้ยงเสียหรือเปล่า
14. Sector not fond error reading in drive C:
            สาเหตุอาจเกิดจาก 
            1.   ปัญหานี้จะคล้ายกับอาการ Data error reading in drive C: หรือ BAD Sector แต่ส่วนที่เกิดปัญหานี้จะเกิดกับส่วนของ File Allocation Table (FAT) ไม่ใช่ที่ตัวพื้นที่เก็บข้อมูลจริง 
            2.   ส่วนของฮาร์ดดิสที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ FAT มีปัญหาเช่นเกิดการเสื่อมของสารแม่เหล็กหรือเกิดรอยที่ผิวของจานแม่เหล็ก เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน 
            การแก้ปัญหา 
            1.   ทำเช่นเดียวกับปัญหา BAD Sector แต่ในส่วนโหมดของการ Scan ให้เลือกเป็นแบบ Standard ก็พอ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจในส่วนของ File Allocation Table (FAT) และ Folders และเมื่อโปรแกรมตรวจพบข้อผิดพลาดก็จะทำการซ่อมแซมค่าที่ผิดพลาดนั้นๆ ให้กลับเป็นปกติ หรืออาจบันทึกเป็นชื่ออื่นแต่ตัวข้อมูลจะยังอยู่ซึ่งเราต้องเข้าไปแก้ไขเองอีกครั้ง ซึ่งปัญหาที่มักจะเกิดก็ได้แก่ Cross link, Folders error ที่เกิดขึ้นในตาราง FAT ซึ่ง Files ที่มักจะสร้างปัญหาบ่อยๆ ก็ได้แก่ประเภทที่มีส่วนขยายเป็น TMP ซึ่งมักจะถูกเก็บอยู่ที่โฟเดอร์ชื่อ TEMP (c:\windows\temp) ซึ่ง Files เหล่านี้ จะถูกสร้างจากโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง ซึ่งผู้ใช้งานควรที่จะทำการลบ Files พวกนี้ทิ้งเป็นประจำ การลบ temp files ทำได้โดยการเข้าไปที่โฟรเดอร์ดังนี้ และทำการเลือกทุก files และกดปุ่ม DELETE ที่แป้นคีบอร์ด (C:/windows/temp/*.tmp) 
            2.   หากแก้ไขตามข้อแรกไม่ได้ผลควรที่จะทำการ Format ฮาร์ดดิสใหม่ และลงโปรแกรมใหม่เพื่อเป็นการจัดและเริ่มต้นระบบใหม่ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วในการทำงานของเครื่องเพิ่มขึ้นด้วย ก่อนการทำการ Format ฮาร์ดดิสต้องแน่ใจว่าไม่มีความจำเป็นต้องรักษาข้อมูลบนตัวฮาร์ดดิส หรือได้สำรองข้อมูลที่สำคัญไว้ในสื่ออื่นๆ แล้ว การFormat ทำได้โดย Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk แล้วใช้คำสั่ง a:/format c:/s เพื่อทำการจัดเตรียมพื้นที่ใหม่ โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของแผ่นจานเก็บข้อมูล และเมื่อไม่สามารถอ่านพื้นผิวบริเวณใดก็จะระบุตำแหน่งจุดที่เสียบนพื้นผิวเพื่อที่โปรแกรม Windows จะไม่ไปใช้พื้นที่นั้นในการเก็บข้อมูล 
            การป้องกันปัญหา: 
            1.   ทำการ Scandisk ทุกๆ สัปดาห์ 
            2.   ลบ temp files ใน Windows/temp ทิ้งให้หมดหลังจากการทำ Scandisk แล้ว (ก่อนทำการ Scandisk และลบ temp file ทิ้ง ควรทำการปิดโปรแกรมทุกตัวก่อนทุกครั้ง) 
            3.   ใช้โปรแกรม Disk Cleanup ช่วยในการลบ files ที่ไม่จำเป็นทิ้งโดยเริ่มต้นที่ Start Menu/Programs/Accessories/System tools/Disk Cleanup จากนั้นทำเครื่องหมายถูกที่หน้า Temporary files
15. Data Error Reading in Drive C: 
            สาเหตุอาจเกิดจาก เนื่องจากโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากผิวของตัวจานเก็บข้อมูลได้ 
            การแก้ปัญหา เรียกโปรแกรม Scandisk ขึ้นมาโดย
            1.   ดับเบิลคลิกที่ My Computer 
            2.   ชี้ mouse ไปที่ Drive ที่ต้องการจะทำการ Scan 
            3.   คลิกปุ่มขวาของ Mouse เลือก Properties 
            4.   เลือก TAB Tools 
            5.   กดปุ่ม [Check Now...] บน Windows Properties 
            6.   เลือกรูปแบบการ Scan เป็น [Thorough] 
            7.   ทำเครื่องหมายถูกหน้า Automatically fix errors 
            8.   เริ่มทำการ Scan โดยกดที่ปุ่ม Start 
           9.   เมื่อทำการ Scan จนเสร็จแล้วจะมีหน้าต่างแสดงค่าที่ทำการ Scan ให้ดู (ScanDisk Results- [c:] ให้สังเกตดูที่หัวข้อ bytes in bad sectors ถ้ามีตัวเลขขึ้นแสดงว่าโปรแกรม Scan ตรวจพบส่วนที่เสียหายของผิวจานแม่เหล็กของ Hardisk 
            10.  กดปุ่ม close เพื่อทำการปิดโปรแกรม ScanDisk 
            11.  ในขณะนี้โปรแกรม ScanDisk จะทำการตรวจสอบส่วนต่างๆ ของ Harddisk เรียบร้อยแล้วและได้ทำการทำเครื่องหมายบริเวณที่ไม่สามารถอ่านได้แล้วลงบนตารางแฟ็ท (FAT=File Allocation Tables), Folders หลังจากทำการ Scandisk เสร็จแล้วอาการดังกล่าวน่าจะหายไป

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น นับเศษไม้ ก้อนหิน ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า ลูกคิด” (Abacus) โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็ก ๆ ที่ฉลาด ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง
ความพยายามที่จะผลิตเครื่องมือนับเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองที่จะต้องคิดคำนวณจำนวนเลขต่าง ๆ มีอยู่ตลอดเวลา จากเครื่องที่ใช้มือ มาใช้เครื่องจักร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้
ค.ศ. 1617 : จอห์น เนเปียร์ (John Nepier) ชาวสก็อต ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข เนเปียร์ส โบนส์” (Nepier’s Bones)
ค.ศ. 1632 : วิลเลี่ยม ออตเทรด (William Oughtred) ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rules) เพื่อใช้ในทางดาราศาสตร์ ถือเป็น คอมพิวเตอร์อนาลอก เครื่องแรกของโลก
ค.ศ. 1642 : เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal: 1623 - 1662) ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขแบบมีเฟืองหมุนคือมีฟันเฟือง 8 ตัว เมื่อเฟืองตัวหนึ่งนับครบ 10 เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไปอีกหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งหลักการนี้เป็นรากฐานของการพัฒนาเครื่องคำนวณ และถือว่า เครื่องบวกเลข (Adding Machine) ของปาสคาลเป็น เครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก
ค.ศ. 1673 : กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ (Gottfried von Leibniz : 1646 - 1716) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน ออกแบบเครื่องคิดเลขแบบใช้เฟืองทดเพื่อทำการคูณด้วยวิธีการบวกซ้ำ ๆ กัน ไลบนิซเป็นผู้ค้นพบจำนวนเลขฐานสอง (Binary Number) ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 เป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ เครื่องคิดเลขที่ไลบนิซสร้างขึ้น เรียกว่า Leibniz Wheel สามารถ บวก ลบ คูณ หาร ได้
ค.ศ. 1804 : โจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph Marie Jacquard : 1752 - 1834) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดประดิษฐ์ Jacquard’s Loom เป็นเครื่องทอผ้าที่ควบคุมการทอผ้าลายสีต่าง ๆ ด้วยบัตรเจาะรู (Punched – card) จึงเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร (Punched – card machine) สำหรับเจาะบัตรที่ควบคุมการทอผ้าขึ้น และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้โปรแกรมสั่งให้เครื่องทำงานเป็นเครื่องแรก
ค.ศ. 1822 : ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage: 1792 - 1871) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ มีแนวความคิดสร้างเครื่องหาผลต่าง เรียกว่า Difference Engine โดยได้รับความช่วยเหลือจากราชสมาคม (Royal Astronomical Society) ของรัฐบาลอังกฤษ สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1832
     จากนั้นในปี ค.ศ. 1833 ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้คิดสร้างเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนควบคุม และส่วนคำนวณ โดยออกแบบให้ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำเป็นตัวหมุนเฟือง และนำบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูล สามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ไว้ในหน่วยความจำก่อนแสดงผล ซึ่งจะเป็นบัตรเจาะรูหรือพิมพ์ออกทางกระดาษ แต่ความคิดของแบบเบจ ไม่สามารถประสบผลสำเร็จเนื่องจากเทคโนโลยีในสมัยนั้นไม่เอื้ออำนวย แบบเบจเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1871 ลูกชายของแบบเบจคือ Henry Prevost Babbage ดำเนินการสร้างต่อมาอีกหลายปีและสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1910
 หลักการของแบบเบจ ถูกนำมาใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน แบบเบจจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
     เลดี้ เอดา ออกัสตา ลัฟเลซ (Lady Ada Augusta Lovelace) นักคณิตศาสตร์ผู้ร่วมงานของแบบเบจ เป็นผู้ที่เข้าใจในผลงานและแนวความคิดของแบบเบจ จึงได้เขียนบทความอธิบายเทคนิคของการเขียนโปรแกรม วิธีการใช้เครื่องเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดความเข้าใจในผลงานของแบบเบจได้ดีขึ้น Ada จึงได้รับการยกย่องให้เป็น นักโปรแกรมคนแรกของโลก
     1850 : ยอร์ช บูล (George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า Boolean Algebra เพื่อใช้หาข้อเท็จจริงจากเหตุผลต่าง ๆ และแต่งตำราเรื่อง “The Laws of Thoughts” ว่าด้วยเรื่องของการใช้เครื่องหมาย AND, OR, NOT ซึ่งเป็นรากฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับการพัฒนาทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สวิตช์ปิดหรือเปิด การไหลของกระแสไฟฟ้า ไหลหรือไม่ไหล ตัวเลขจำนวนบวกหรือลบ เป็นต้น โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้จากพีชคณิตจะมีเพียง 2 สถานะคือ จริงหรือเท็จเท่านั้น ซึ่งอาจจะแทนจริงด้วย 1 และแทนเท็จด้วย 0

ยุคต่างๆของคอมพิวเตอร์

      ยุคที่ 1 UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
     ยุคที่ 2 ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง
     ยุคที่ 3   ค.ศ. 1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงเริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969 
     ยุคที่ 4     ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น
     ยุคที่ 5      เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร  ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing) ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติธุรกิจต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค้าส่ง ค้าปลีก คลังสินค้า และโรงงาน ผู้จัดการจะอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมากขึ้น ผู้ใช้จะพึ่งพาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ของระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการทำงานตามหน้าที่ทุก ๆ วัน การใช้คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วไป เช่น ระบบการโอนเงินทางธนาคาร ระบบชำระค่าสินค้า ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านวิศวกรรม เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติ ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการศึกษา Telecommuting เป็นระบบการสื่อสารเพื่อการทำงานภายในบ้าน และ ระบบ videotex สำหรับหาซื้อสินค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic shopping ) การธนาคาร และบริการสารสนเทศถึงบ้าน จะมีความตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น สังคมจะให้ความเชื่อถือความมั่นใจในคอมพิวเตอร์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่21

ประวัติการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทย

จากเครื่องคอมพิวเตอร์แรก ก็มีวิวัฒนาการ Timeline ในการนำมาใช้ในประเทศไทยต่อมา ตามลำดับดังนี้
    คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดย  ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ( ในขณะนั้นประมาณสองล้านบาทเศษ) ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
         เริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย การพัฒนาสถิติของประเทศ  เน้นในด้านการปฏิบัติงานสำมะโนและในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ  หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็สนใจส่ง เจ้าหน้าที่มาดูการ ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เพราะประเทศของเขาเองยังไม่มี  โดยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554)เครื่องนี้อยู่ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ
นับจากวันนั้นมาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวางตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย และเป็นไอบีเอ็มอีกนั่นแหละที่ร่วมบุกเบิกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทำบัญชี เขียนรายงาน นำเสนองาน วาดภาพ และจิปาถะ ก่อนขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กให้เลอโนโวสานต่อ