วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


5 อันดับเว็บไซต์ของไทย

Sanook.com

เว็บไซต์อันดับ 1 ของเมืองไทยที่รวมเกมส์ ดูดวง ฟังเพลง หาเพื่อน แชท ข่าว หางาน ดารา ผู้หญิง มีข้อมูลต่างๆให้อ่านอีกมากมาย.


Kapook.com

เว็บแรกที่คุณเลือก เกมส์ เกม ดูดวง ดวง ฟังเพลง เพลง เนื้อเพลง แชท หาเพื่อน กลอน เกมส์ทำอาหาร เกมส์แต่งตัว เกมส์ออนไลน์ เกมส์ปลูกผัก ทำนายฝัน ดารา ฟุตบอล


Mthai.com

เกมส์ ฟังเพลง เกม ดูดวง แชท เพลง หาเพื่อน ผลบอล กลอน ดูทีวี เกมส์ออนไลน์ ผลฟุตบอล ฟุตบอล หางาน รถมือสอง งานราชการ ทำนายฝัน และอื่นๆอีกมากมาย.


Dek-d.com

ปัญหาถามตอบ เกร็ดความรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องบันเทิงสำหรับเด็ก.


Teenee.com


ทันทุกเรื่องhit อัพเดททุกเรื่องhot เกาะกระแสดารา รวมเกมส์ ดูดวง ฟังเพลง หางาน ของฟรี.


ที่มา :  http://truehits.net/ranking/view.php?cc=210



5 อันดับเว็บไซต์ของต่างประเทศ

cnn.com

เป็นเว็บไซต์ที่ให้ข่าวได้รวดเร็ว โดยคุณจะได้พบกับข่าวที่ได้รับการอัพเดตนาทีต่อนาทีซึ่งก็มีทั้งข่าว กิจกรรม เสียง วิดีโอ และลิงก์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ สำหรับ CNN Remote นั้น จะส่งข่าวต่าง ๆ ไปยังคอมพิวเตอร์เดสทอปคุณทุก ๆ 5 นาที และคุณสมบัติ Customize นั้นก็ช่วยให้คุณเลือกข่าวที่คุณต้องการโดยให้คุณสามารถสร้างโพรไฟล์หรือเลือกโพรไฟล์จาก Quickstart ขึ้นมา

sonymusic.com

เป็นเว็บดนตรีของค่ายเพลงโซนี่ ซึ่งจะนำคุณไปพบกับโลกแห่งเสียงเพลงหลากหลายสไตล์ และเรื่องราวชองศิลปินในค่าย ๆ มีการนำเสนอข่าวคราวที่น่าสนใจต่าง ๆ ของวงการเพลง การออกอัลบั้มใหม่ และหาตารางการทัวร์คอนเสิร์ตของนักร้องที่คุณชื่นชอบได้อีกด้วย

webopaedia.com

เป็นเว็บเอ็นไซโคพีเดียและเสิร์ชเอ็นจินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่ง คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยใช้คีย์เวิร์ดหรือไประเภท ไซต์นี้ได้แบ่งหัวข้อต่าง ๆ ไว้ 15 หัวเรื่อง โดยคุณสามารถให้ทางไชต์ส่งข้อมูลอัพเดตมาที่คุณได้

techweb.com   

เป็นเว็บที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับไอทีและวิวัฒนาการใหม่ ๆ ต่าง ๆ คุณจะได้พบกับข่าวสารของโลกคอมพิวเตอร์ที่ทันต่อเหตุการณ์ การใช้เทคโนโลยีในระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ บทความต่าง ๆ เกี่ยวกับแวดวงอินเตอร์เน็ต

warnerbros.com

เว็บนี้เป็นเว็บของค่ายวอร์เนอร์ บราเธอร์ที่คุ้นเคยกัน เป็นค่ายที่มีการสร้างงานเพลง ดนตรี และภาพยนตร์ รวมถึงการ์ตูนด้วย เว็บนี้มีการนำเสนอรายการต่าง ๆ ทาง TV ที่ทางค่ายผลิตขึ้นมา ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาทั้งที่ออกฉายแล้ว และกำลังจะเข้ามาฉาย มีการแนะนำวิดีโอใหม่ล่าสุด และแนะนำอัลบั้มเพลงใหม่ในเครือ และคุณสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ของดาราได้ นอกจากนั้นยังมีส่วนที่มอบความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ทั้งหลาย เช่น เกมออนไลน์ การส่งการ์ด และพบกับตัวละครจากภาพยนตร์การ์ตูนที่มีชื่อด้วย


โปรเซสเซอร์

โปรเซสเซอร์

                 ปี 1989 Intel ประกาศตัว 80486 ซึ่งเป็นซีพียูแบบ 32 บิต พร้อมเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ”ไปป์ไลน์” (Pipeline)
            ไปป์ไลน์ช่วยให้ซีพียูสามารถเฟ็ตช์คำสั่งเข้ามาทำงานได้หลาย ๆ คำสั่งในเวลาเดียวกันได้โดยเอ็กซิคิวต์ ในแต่ละคำสั่งในแต่ละสัญญาณนาฬิกา (Clockcycle) เรียกการทำงานแบบนี้ว่า “สเกลลาร์” (Scalar)ปี 1993 ได้เปิดตัวซีพียูในยุคที่ 5 ที่เรียกว่า “Pentium” โดยนำไปป์ไลน์มาใส่ไว้ในซีพียูถึง 2 ตัวทำงานแบบขนานพร้อม ๆ กัน โดยไม่ขึ้นต่อกัน ทำให้สามารถเอ็กซิคิวต์ได้ 2 คำสั่งใน 1 สัญญาณนาฬิกาเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า “ซุปเปอร์สเกลลาร์” (Superscalar)                      
องค์ประกอบซีพียู


Pipeline

       ไปป์ไลน์ (Pipeline) คือการทำงานแบบคาบเกี่ยวกัน (overlap) โดยการแบ่งซีพียูออกเป็นส่วนย่อย ๆ
แล้วแบ่งงานกันรับผิดชอบเดิมไปป์ไลน์เป็นเทคนิคของสถาปัตยกรรมแบบRISC ต่อมานำมาใช้กับ
สถาปัตยกรรมแบบ CISCแบ่งเป็นภาคหลัก ๆ คือ ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง (Instruction Fetch)
ภาคการถอดรหัสคำสั่ง (Instruction Decode)
ภาครับข้อมูล (Get Operands)
ภาคเอ็กซิคิวต์ (Execute)
ภาคเขียนผลลัพธ์ (Write Result)

ขั้นตอนการทำงานของ Pipeline

    ภาคเฟ็ตช์คำสั่ง  หรือ Instruction Fetch ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับคำสั่งใหม่ ๆ ทั้งจากหน่วยความจำหลัก 
หรือจาก Instruction Cache เข้ามา
    ภาคถอดรหัสคำสั่ง หรือ Instruction Decode ส่วนนี้จะทำหน้าที่แยกแยะคำสั่งต่าง ๆ ของ  CISC
    ภาครับข้อมูล หรือ Get Operands  ส่วนนี้ทำหน้าที่รับข้อมูลที่จะใช้ในการเอ็กซิคิวต์เข้ามาเก็บ ไว้
    ภาคเอ็กซิคิวต์ หรือ Execute ส่วนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำการเอ็กวิคิวต์ตามคำสั่งและโอเปอแรนด์ที่ได้รับมา
ภาคเขียนผลลัพธ์ หรือ Write Result เมื่อทำการเอ็กซิคิวต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะนำไปเก็บ
ไว้ในรีจิสเตอร์ หรือในแคช 


ขั้นตอนการทำงานของซีพียู

 
1. การนำคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามาภายในตัวซีพียู
2. การจัดเรียงคำสั่งหรือข้อมูลที่นำเข้า
3. การถอดรหัสข้อมูล
4. การควบคุมและการตรวจสอบการทำงาน  
5. การประมวลผลเลขทศนิยม 
6. การประมวลผลทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ 
7 . การนำผลลัพธ์ที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ที่ Register 
8. การอ่านค่าผลลัพธ์นั้นไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำหลักหรือแรมเพื่อรอการแสดงผล 
  
โครงส้รางของระบบคอมพิวเตอร์(COMPUTERSYSTEMSTRUCTURE)

 ราสามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็น 3 ส่วนดังนี้


1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดย
รับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุต

หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ส่วนคือ  

หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมดให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง 
หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ คูณ 
หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์  


การจัดการหน่วยความจำของ OS นั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ 3 ประการ 
 

   1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy)
 
   2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy)
 
  3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy)  

การจัดการโปรเซสเซอร์  

       โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์
อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์
ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และ โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก 
โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์ ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายาม
ให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย
(longterm scheduler)การทำงานของตัวจัดคิวในระยะยาวมีความแตกต่างกับตัวจัดคิวในระยะสั้นอยู่ใน
บางส่วน การจัดคิวในระยะสั้นเป็นการจัดคิวในระดับโปรเซสและทำหน้าที่คัดเลือกโปรเซสในสถานะ
พร้อมและส่งเข้าไปอยู่ในสถานะรัน ส่วนการจัดคิวในระยะยาวจะเป็นการจัดคิวในระดับ "งาน" 
ไม่ใช่ระดับ "โปรเซส" เมื่อผู้ใช้ส่งงานเข้ามาในระบบ งานเหล่านี้จะเข้าไปรออยู่ในคิวงานเมื่อระบบอยู่ใน
สภาพพร้อมที่จะรับโปรเซสใหม่ได้ 


ที่มา: www.elecnet.chandra.ac.th/learn/courses/ELTC3401/present/ca_ch06.ppt